ต้นพะยอม

พะยอม


พะยอม

พะยอม ชื่อสามัญ Shorea, White meranti
พะยอม ชื่อวิทยาศาสตร์ Shorea roxburghii G.Don (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Shorea talura Roxb.) จัดอยู่ในวงศ์ยางนา (DIPTEROCARPACEAE)
สมุนไพรพะยอม มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า แดน (เลย), ยางหยวก (น่าน), กะยอม เชียง เซียว เซี่ย (เชียงใหม่), พะยอมทอง (ปราจีนบุรี สุราษฎร์ธานี), ขะยอมดง พะยอมดง (ภาคเหนือ), สุกรม (ภาคกลาง), คะยอม ขะยอม (อีสาน), ยอม (ภาคใต้), ขะยอม (ลาว), พะยอมแดง แคน พยอม เป็นต้น

พยอม

สรรพคุณของพะยอม

  1. พยอม สรรพคุณของดอกช่วยบำรุงหัวใจ (ดอก)
  2. สรรพคุณสมุนไพรพยอม ดอกใช้ผสมเป็นยาแก้ไข้ (ดอก)
  3. ดอกใช้ทำเป็นยาหอมไว้แก้ลม (ดอก)

ผลพะยอม

ระโยชน์ของพะยอม

  1. ดอกอ่อนสามารถนำมารับประทานสดได้ หรือจะนำมาลวกเป็นผักไว้จิ้มกินกับน้ำพริก ใช้ผัดกับไข่ ชุบไข่ทอด หรือจะนำมารับประทานเป็นน้ำซุปร้อน ๆ โดยนำมาแกงส้มก็ได้เช่นกัน โดยคุณค่าทางโภชนาการของดอกพะยอมในส่วนที่กินได้ต่อ 100 กรัม ประกอบไปด้วยคาร์โบไฮเดรต 7.2 กรัม, โปรตีน 4.4 กรัม, ไขมัน 1.1 กรัม, เส้นใย 2.8 กรัม, ธาตุเหล็ก 0.3 มิลลิกรัม, และธาตุแคลเซียม 46 มิลลิกรัม
  2. ไม้พะยอม มีสีเหลืองอ่อนถึงสีน้ำตาล สามารถนำมาใช้ในการก่อสร้างทั่ว ๆไปได้ เช่น การทำเสาบ้าน ขื่อ รอด ตง พื้น ทำฝา เรือขุด เครื่องบนเสากระโดงเรือ แจว พาย กรรเชียง คราด ครก สาก ลูกหีบ กระเดื่อง ตัวถังรถ ซี่ล่อเกวียน กระเบื้องไม้ นำไปใช้ทำหมอนรถไฟ และนำมาใช้แทนไม้ตะเคียนทองเพราะมีลักษณะคล้าย ๆ กัน เป็นต้น

ต้นมะละกอ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ต้นมะละกอ

ชื่อวิทยาศาสตร์: Carica papaya L.

ชื่อสามัญ: Papaya, Melan Tree, Paw Paw
ชื่ออื่น: ก้วยลา (ยะลา), แตงต้น (สตูล), มะก้วยเทศ (ภาคเหนือ), มะเต๊ะ (มาเลย์-ปัตตานี), ลอกอ (ภาคใต้), บักหุ่ง (นครพนม-เลย)

วงศ์: CARICACEAE 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:
          ไม้ล้มลุกอายุหลายปีขนาดใหญ่ อายุหลายปี สูง 2-8 ม. ลำต้นตั้งตรงมักไม่แตกกิ่ง ไม่มีแก่น ต้นอวบน้ำ มีรอยแผลเป็นของก้านใบที่หลุดร่วงไป มีน้ำยางสีขาวทั่วลำต้น

         ใบ ใบเรียงสลับรอบต้นบริเวณยอด ใบเดี่ยว รูปฝ่ามือกว้าง ยาว 25-60 ซม. โคนใบเว้า ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเว้าเป็นแฉกลึก 7-11 แฉก และจักฟันเลื่อย ก้านใบยาว 25-90 ซม. เป็นท่อกลวงยาว

         ดอก ดอกช่อสีขาวนวล มีกลิ่นหอม ออกที่ซอกใบ มีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและดอกแยกเพศ ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกยาว กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว 1.5-2.5 ซม. ปลายแยกเป็น 5 กลีบ เมื่อบานเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-2.5 ซม. เกสรเพศผู้มี 10 อัน ดอกเพศเมียและดอกสมบูรณ์เพศออกเดี่ยวหรือ 2-3 ดอก กลีบดอก 5 กลีบ ดอกมีขนาดใหญ่กว่าดอกเพศผู้ 

         ผล ผลเป็นผลสดรูปยาวรี ปลายแหลม ผลดิบมีเนื้อสีขาวอมเขียว ผลสุกมีเนื้อสีแดงส้ม เนื้อหนาอ่อนนุ่ม รสหวาน มีเมล็ดมาก รูปไข่สีน้ำตาลดำ ผิวขรุขระ  มีถุงเมือกหุ้ม

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง






ต้นติ้ว

ติ้วขาว

ติ้วขาว

ติ้วขาว ชื่อวิทยาศาสตร์ Cratoxylum formosum (Jacq.) Benth. & Hook.f. ex Dyer (Cratoxylum formosum subsp. formosum) ปัจจุบันจัดอยู่ในวงศ์ติ้ว (HYPERICACEAE)
สมุนไพรติ้วขาว มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า แต้วหิน (ลำปาง), ผักเตา เตา (เลย), ติ้วส้ม (นครราชสีมา), กวยโชง (กาญจนบุรี), ตาว (สตูล), ติ้วแดง ติ้วยาง ติ้วเลือด ติ้วเหลือง (ภาคเหนือ), ติ้วเหลือง (ภาคกลาง), แต้ว (ภาคใต้), ผักติ้ว เป็นต้น

ต้นผักติ้ว

สรรพคุณของติ้วขาว

  1. ช่วยบำรุงโลหิต ฟอกโลหิต (ยอด, ใบอ่อน, ดอก, เถา)
  2. เปลือกต้นนำมาต้มกับน้ำกินแก้ธาตุพิการ (เปลือกต้น)
  3. ช่วยแก้ประดง (ยอด, ใบอ่อน, ดอก, เถา)
  4. ผักติ้วเป็นผักที่มีวิตามินเอสูง จึงมีสรรพคุณช่วยป้องกันไม่ให้เด็กเป็นตาบอดกลางคืน และโรคตาไก่
  5. ช่วยขับลม (ยอด, ใบอ่อน, ดอก, เถา)
  6. รากและใบ ใช้ต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้อาการปวดท้อง (รากและใบ)
  7. ใช้รากผสมกับรากปลาไหลและหัวแห้วหมู นำมาต้มกับน้ำดื่มวันละ 3 ครั้งเป็นยาขับปัสสาวะ แก้อาการปัสสาวะขัด (ราก)
ผลติ้วขาว

ประโยชน์ของติ้วขาว

  1. ยอดอ่อน ใบอ่อน และดอกอ่อนของติ้วขาวหรือผักติ้วใช้รับประทานเป็นผักสดร่วมกับลาบ ก้อย น้ำตก แจ่ว ซุปหน่อไม้ น้ำพริก น้ำพริกปลาร้า ขนมจีน หมี่กะทิ เมี่ยงญวน แหนมเนืองเวียดนาม หรือจะนำไปประกอบอาหาร เช่น ใส่ต้มหรือแกงต่าง ๆ เพื่อใช้ปรุงรสเปรี้ยวแทนการใช้มะนาว เช่น แกงเห็ด แกงปลา
  2. ดอกอ่อน ใช้ทำซุปหรือยำได้ แต่จะนิยมใช้ติ้วขาวมากกว่าติ้วขน เพราะติ้วขาวมีรสชาติขมและฝาดน้อยกว่าติ้วขน
  3. สารสกัดด้วยน้ำของติ้วขนมีฤทธิ์ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้กับปลานิล โดยปลานิลที่เลี้ยงด้วยอาหารที่ผสมด้วยสารสกัดติ้วขน (อัตราส่วน 1.5% (w/w)) จะมีภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะ (Nonspecific immune response) สูงขึ้น

ดอกติ้วขาว
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ต้นตะเคียนทอง


ต้นตะเคียน

ตะเคียนทอง ชื่อสามัญ Iron wood, Malabar iron wood, Takian, Thingan, Sace, Takian
ตะเคียนทอง ชื่อวิทยาศาสตร์ Hopea odorata Roxb. จัดอยู่ในวงศ์ยางนา (DIPTEROCARPACEAE)[
สมุนไพรตะเคียนทอง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ตะเคียน ตะเคียนทอง ตะเคียนใหญ่ (ภาคกลาง), จะเคียน (ภาคเหนือ), แคน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ไพร (ละว้า เชียงใหม่), กะกี้ โกกี้ (กะเหรี่ยง เชียงใหม่), จูเค้ โซเก (กะเหรี่ยง กาญจนบุรี), จืองา (มลายู-นราธิวาส) 

ใบตะเคียน

ลักษณะของต้นตะเคียน

  • ต้นตะเคียนทอง จัดเป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดใหญ่ ลำต้นเปลาตรง มีความสูงของต้นประมาณ 20-40 เมตร วัดรอบได้ถึงหรือกว่า 300 เซนติเมตร ลักษณะของเรือนยอดเป็นทรงพุ่มทึบ กลม หรือเป็นรูปเจดีย์แบบต่ำ ๆ เปลือกต้นหนาเป็นสีน้ำตาลดำ แตกเป็นสะเก็ด กะพื้นเป็นสีน้ำตาลอ่อน ส่วนแก่นไม้ตะเคียนเป็นสีน้ำตาลแดง ลักษณะของไม้ตะเคียน เนื้อไม้เป็นสีเหลืองหม่นหรือสีน้ำตาลอมสีเหลือง มักมีเส้นสีขาวหรือเทาขาวผ่านเสมอ ซึ่งเป็นท่อน้ำมันหรือยาง เนื้อไม้มีความละเอียดปานกลาง เสี้ยนมักสน ไม้แข็ง เหนียว ทนทาน และเด้งตัวได้มาก นิยมขยายพันธุ์ด้วยวิธีการผลิตกล้าจากเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีที่ระดับความสูงประมาณ 130-300 เมตร และเป็นดินร่วนปนทรายที่มีความอุดมสมบูรณ์และรายน้ำได้ดี มีเขตการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติทางตอนใต้และทางตอนตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชียในแถบประเทศไทย ลาว พม่า กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย โดยเป็นไม้ในป่าดงดิบที่มักขึ้นเป็นหมู่กระจัดกระจายอยู่ตามที่ราบ หรือในที่ค่อนข้างราบใกล้ฝั่งแม่น้ำ  ตามป่าดิบใกล้ลำธาร ที่ระดับ

ต้นตะเคียนทอง

สรรพคุณของตะเคียนทอง

  1. แก่นมีรสขมอมหวาน ช่วยแก้โลหิตและกำเดา (แก่น)
  2. ช่วยคุมธาตุ (เนื้อไม้)[10] ปิดธาตุ (แก่น,ยาง)
  3. ช่วยแก้ไข้สัมประชวรหรือไข้ที่เกิดมาจากหลายสาเหตุ และมักมีอาการแสดงที่ตา เช่น แดง เหลือง หรือขุ่นคล้ำ เป็นต้น (แก่น)
  4. แก่นไม้ตะเคียนใช้ผสมกับยารักษาทางเลือดลม กษัย (แก่น)
  5. ช่วยแก้อาการลงแดง (เปลือกต้น)
  6. ช่วยขับเสมหะ (แก่น)

ดอกตะเคียน

ประโยชน์ตะเคียนทอง

  1. ไม้ตะเคียน จัดเป็นไม้ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของประเทศ เพราะเนื้อไม้มีความทนทาน ทนปลวกดี เลื่อย ไสกบ ตกแต่งและชักเงาได้ดีมาก นิยมใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน เฟอร์นิเจอร์ตกแต่งบ้าน เครื่องเรือน หน้าต่าง วงกบประตู ทำพื้นกระดาน ฝ้าหลังคา รั้วไม้ หีบใส่ของ ด้ามเครื่องมือกสิกรรมต่าง ๆ พานท้ายและรางปืน หรือใช้ทำสะพาน ต่อเรือ ทำเรือมาด เรือขุด เรือแคนู เสาโป๊ะ กระโดงเรือ ทำรถลาก ทำหมอนรองรางรถไฟ ตัวถังรถ กังหัน เกวียน หูกทอผ้า ทำไม้ฟืน ฯลฯ ไม้ชนิดนี้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในงานไม้ได้ทุกอย่างที่ต้องการความแข็งแรงทนทาน เหนียวและเด้ง
  2. เปลือกต้นให้น้ำฝาดชนิด Catechol และ Pyrogallol
  3. ชันจากไม้ตะเคียนใช้ทำน้ำมันชักเงาตบแต่งเครื่องใช้ในร่ม ใช้ผสมกับน้ำมันทาไม้ยาแนวเรือ หรือใช้ผสมกับวัสดุอื่น ๆ เพื่อใช้ในงานต่าง ๆ เช่น ใช้สำหรับทาเคลือบเรือเพื่อช่วยรักษาเนื้อไม้และป้องกันเพรียงทำลาย เป็นต้น
  4. ใบตะเคียนมีสารแทนนินอยู่ประมาณ 10% โดยน้ำหนักแห้ง ส่วนในเปลือกต้นก็มีสารประกอบนี้อยู่ด้วยเช่นกัน โดยคุณสมบัติของแทนนินที่ได้จากไม้ตะเคียนทองนี้ เมื่อนำมาใช้ฟอกหนังจะช่วยทำให้แผ่นหนังแข็งขึ้นกว่าเดิม จึงเหมาะกับการนำมาใช้เฉพาะงานได้เป็นอย่างดี[6]
  5. ใช้ปลูกตามป่าหรือตามสวนสมุนไพรเพื่อเป็นไม้บังลม เพื่อให้ร่มเงา และช่วยรักษาสมดุลทางธรรมชาติ เพราะไม้เป็นไม้ไม่ผลัดใบพร้อมกัน จึงเป็นไม้ที่ช่วยรักษาความเขียวได้ตลอดปี ช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้เป็นอย่างดี


ต้นอินทนิล

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ต้นอินทนิล

อินทนิลน้ํา

อินทนิลน้ำ ชื่อสามัญ Queen’s flower, Queen’s crape myrtle, Pride of India, Jarul
อินทนิลน้ำ ชื่อวิทยาศาสตร์ Lagerstroemia speciosa (L.) Pers. จัดอยู่ในวงศ์ LYTHRACEAE (เป็นคนละชนิดกับต้นอินทนิลบก ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lagerstroemia macrocarpa Wall.)
สมุนไพรอินทนิลน้ำ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ตะแบกดำ (กรุงเทพ), ฉ่วงมู ฉ่องพนา (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), บางอบะซา (นราธิวาส, มลายู-ยะลา), บาเย บาเอ (มลายู-ปัตตานี), อินทนิล (ภาคกลาง, ภาคใต้) เป็นต้น และยังเป็นพันธุ์ไม้ประจำจังหวัดระนองและจังหวัดสกลนครอีกด้วย

รูปอินทนิล

สรรพคุณของอินทนิล

  1. ใบอินทนิลน้ำมีรสขมฝาดเย็น ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง โดยใช้ใบแก่เต็มที่ประมาณ 1 กำมือ นำมาต้มกับน้ำดื่มในตอนเช้า (ใบแก่)
  2. ช่วยลดระดับไขมันในเลือด ในประเทศญี่ปุ่นได้มีการสกัดสารจากใบอินทนิลน้ำด้วยแอลกอฮอล์ นำไปทำให้เข้มข้นจนได้สารสกัด 3 mg./ml. แล้วนำไปทำเป็นยาเม็ดขนาดเม็ดละ 250 mg. ให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานและมีภาวะไขมันในเส้นเลือดสูงรับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง นานติดต่อกัน 4 สัปดาห์ พบว่าผู้ป่วยมีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดที่ลดลง (ใบ)
  3. ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งได้มีการทดลองทั้งในประเทศไทย อินเดีย และฟิลิปปินส์ โดยใช้ส่วนของใบแก่เต็มที่ เมล็ด และเปลือกผลในการทดลอง ซึ่งพบว่ามันมีฤทธิ์เหมือนอินซูลิน (ใบแก่, เมล็ด, เปลือกผล)สมุนไพรอินทนิลน้ำ

ต้นค้อ

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

       ค้อ (ชื่อวิทยาศาสตร์Livistona speciosa) หรือบะก๊อ ภาษากะเหรี่ยงเรียก โลหล่า มีถิ่นกำเนิดที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นปาล์มต้นเดี่ยว ชอบขึ้นอยู่บนภูเขา ขนาดของลำต้นประมาณ 30 เซนติเมตร สูงได้ถึง 25 เมตร ใบเป็นรูปพัด จักเว้าลึกไม่ถึงครึ่งตัวใบ จีบเวียนรอบใบสวยงาม ใบอ่อนสีเขียวเข้มเป็นมัน ดอกช่อดอกออกระหว่างกาบใบ ช่อยาว 1.50 เมตร ผลกลมรี ขนาด 2 เซนติเมตร ผลแก่สีเขียวคล้ำผลสุกรับประทานได้ ใบตากแห้งใช้มุงหลังคา

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง


ต้นมะม่วง


มะม่วง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Mangifera Indica) เป็นไม้ยืนต้นในสกุล Mangifera ซึ่งเป็นไม้ผลเมืองร้อนในวงศ์ Anacardiaceae (กลุ่มเดียวกับถั่วพิสตาชีโอและมะม่วงหิมพานต์ชื่อวิทยาศาสตร์Mangifera indica เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย เพราะการที่ภูมิภาคนั้นมีความหลากหลายทางพันธุกรรมและร่องรอยฟอสซิลที่หลากหลาย นับย้อนไปได้ถึง 25-30 ล้านปีก่อน  มะม่วงมีความแตกต่างประมาณ 49 สายพันธุ์กระจายอยู่ตามประเทศในเขตร้อนตั้งแต่อินเดียไปจนถึงฟิลิปปินส์ จากนั้นจึงแพร่หลายไปทั่วโลก เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ใบโต ยาว ปลายแหลม ขอบใบเรียบ ใบอ่อนสีแดง ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ดอกขนาดเล็ก สีขาว ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเหลือง เมล็ดแบน เปลือกหุ้มเมล็ดแข็งผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ต้นมะม่วง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ต้นมะม่วง

มะม่วงเป็นผลไม้เศรษฐกิจ ปลูกเป็นพืชสวน ประเทศไทยส่งออกมะม่วงเป็นอันดับ 3 รองจากฟิลิปปินส์ และเม็กซิโก เป็นผลไม้ประจำชาติของอินเดีย ปากีสถาน และฟิลิปปินส์ รวมทั้งบังกลาเทศ

สรนรพคุณของมะม่วง

  1. ประโยชน์ของมะม่วงรับประทานมะม่วงก็ช่วยทำให้สดชื่นมีชีวิตชีวาได้เหมือนกัน
  2. มะม่วงมีวิตามินซีสูง จึงช่วยต้านอนุมูลอิสระได้เป็นอย่างดี
  3. มะม่วงมีวิตามินเอ วิตามินซี ซึ่งมีส่วนช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส
  4. ช่วยบำรุงและรักษาสายตา เพราะอุดมไปด้วยวิตามินเอและเบตาแคโรทีน
  5. เป็นผลไม้ที่มีส่วนช่วยบำรุงร่างกาย
  6. ช่วยทำให้ผ่อนคลายและหลับสบายยิ่งขึ้น
  7. ช่วยทำให้ร่างกายทำงานเป็นปกติ ปรับสมดุลภายใน
  8. ผลมะม่วงดิบมีวิตามินซีสูง จึงช่วยป้องกันและรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน
  9. ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคมะเร็งต่าง ๆ
  10. มีส่วนช่วยต่อต้านการเกิดโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งลำไส้ รวมไปถึงต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด มะเร็งเม็ดเลือด โรคมะเร็งผิวหนัง เป็นต้น
  11. ช่วยเยียวยาและรักษาโรคเบาหวาน ด้วยการใช้ใบมะม่วงประมาณ 15 ใบ นำมาล้างให้สะอาด แล้วนำมาต้มในน้ำสะอาด 1 ถ้วย โดยใช้ไฟอ่อน ๆ นาน 1 ชั่วโมง ถ้าน้ำแห้งก็เติมเรื่อย ๆ เมื่อเสร็จแล้วนำมาตั้งทิ้งค้างคืนไว้ 1 คืน พอเช้าก็นำมากรองเอาแต่น้ำดื่มติดต่อกันประมาณ 3-4 วัน
  12. ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน ด้วยการรับประทานผลสดแก่
  13. ช่วยแก้อาการกระหายน้ำ ด้วยการรับประทานผลสดแก่
  14. ช่วยแก้อาการร้อนใน ด้วยการรับประทานผลมะม่วง
  15. ช่วยแก้โรคคอตีบ ด้วยการใช้เปลือกของลำต้นมะม่วงมาต้มรับประทานแก้ซางตานขโมยในเด็ก ด้วยการใช้ใบมะม่วงพอประมาณนำมาต้มรับประทาน
  1. ช่วยรักษาอาการเยื่อปากอักเสบ จมูกอักเสบ ด้วยการใช้เปลือกของลำต้นมะม่วงมาต้มรับประทาน
  2. เปลือกมะม่วงของผลดิบ นำมาคั่วรับประทานร่วมกับน้ำตาล ช่วยแก้อาการปวดประจำเดือนและอาการปวดเมื่อยช่วงมีประจำเดือน
  3. เปลือกต้นมะม่วง นำมาต้มเอาน้ำดื่ม ช่วยแก้ไข้ตัวร้อน
  4. ไฟเบอร์จากมะม่วงเป็นตัวช่วยสำหรับการย่อยอาหารและเผาผลาญพลังงาน
  5. แก้อาการท้องอืด ด้วยการนำใบสดประมาณ 15 กรัมมาต้มกับน้ำดื่ม หรือใช้เมล็ดของมะม่วงสุกมาตากแห้งแล้วต้มเอาน้ำดื่ม หรือจะบดให้เป็นผงก็ได้แล้วนำมารับประทาน
  6. ช่วยแก้อาการบิด ถ่ายเป็นเลือด ด้วยการรับประทานผลมะม่วง
  7. ช่วยบำรุงกระเพาะอาหาร ด้วยการรับประทานผลมะม่วง
  8. แก้อาการลำไส้อักเสบเรื้อรัง ด้วยการนำใบสดประมาณ 15 กรัมมาต้มกับน้ำดื่ม
  9. มีส่วนช่วยในการขับถ่าย มีฤทธิ์เป็นยาระบาย ด้วยการรับประทานมะม่วงสุก
  10. ช่วยขับปัสสาวะ ด้วยการรับประทานผลมะม่วง
  11. ช่วยขับพยาธิ ด้วยการใช้เมล็ดของมะม่วงสุกมาตากแห้งแล้วต้มเอาน้ำดื่ม หรือจะบดให้เป็นผงก็ได้แล้วนำมารับประทาน
  12. น้ำต้มกับใบมะม่วงสดประมาณ 15 กรัม ใช้ล้างบาดแผลภายนอกได้
  13. ใช้เป็นยาสมานแผลสด ด้วยการใช้ใบมะม่วงสดล้างให้สะอาดแล้วนำมาตำและพอกบริเวณที่เป็นแผล

ประโยชน์ของมะม่วง

  1. เนื้อไม้ของต้นมะม่วง สามารถนำมาใช้ทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ได้
  2. ใช้ประกอบอาหารหรือใช้รับประทานเป็นของว่างได้หลากหลาย เช่น ทำน้ำพริก ยำมะม่วง ต้มยำ เมี่ยงส้ม หรือการทำเป็นมะม่วงน้ำปลาหวาน คั้นเป็นน้ำผลไม้ก็ได้เช่นกัน
  3. นำมาแปรรูปเป็นมะม่วงกวน มะม่วงแก้ว มะม่วงดอง มะม่วงแช่อิ่ม มะม่วงเค็ม น้ำแยมมะม่วง พายมะม่วง เป็นต้น
  4. ใบแก่ของมะม่วงใช้เป็นสีย้อมผ้าให้เป็นสีเหลือง
  5. ทรีตเมนต์บำรุงผิวหน้าด้วยการใช้มะม่วงสุกมาฝานเป็นชิ้นบาง ๆ จากนั้นใช้ช้อนบดขยี้เนื้อมะม่วงให้ละเอียด แล้วนำมาพอกหน้าทิ้งไว้ประมาณ 15 นาทีแล้วล้างออก จะทำให้ผิวหน้าดูสะอาดเกลี้ยงเกลา รูขุมขนดูกระชับ ผิวเรียบเนียนไร้รอยเหี่ยวย่น

คุณค่าทางโภชนาการของมะม่วงดิบต่อ 100 กรัม

  • สรรพคุณของมะม่วงพลังงาน 60 กิโลแคลอรี
  • คาร์โบไฮเดรต 15 กรัม
  • น้ำตาล 13.7 กรัม
  • เส้นใย 1.6 กรัม
  • ไขมัน 0.38 กรัม
  • โปรตีน 0.82 กรัม
  • วิตามินเอ 54 ไมโครกรัม 6%
  • เบตาแคโรทีน 640 ไมโครกรัม 6%
  • วิตามินบี 1 0.03 มิลลิกรัม 2%
  • วิตามินบี 2 0.04 มิลลิกรัม 3%
  • วิตามินบี 3 0.67 มิลลิกรัม 4%
  • วิตามินบี 6 0.12 มิลลิกรัม 9%
  • วิตามินบี 9 43 ไมโครกรัม 11%
  • วิตามินซี 36 มิลลิกรัม 60%ประโยชน์ของมะม่วง
  • ธาตุแคลเซียม 11 มิลลิกรัม 1%
  • ธาตุเหล็ก 0.16 มิลลิกรัม 1%
  • ธาตุแมกนีเซียม 10 มิลลิกรัม 3%
  • ธาตุฟอสฟอรัส 14 มิลลิกรัม 2%
  • ธาตุโพแทสเซียม 168 มิลลิกรัม 4%
  • ธาตุสังกะสี 0.09 มิลลิกรัม 1%

ต้นชาด


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ต้นต้นชาด

ชื่อพื้นเมือง ต้นชาด ( ซาก , พันซาด , ตะแบง , ซาด )

ชื่อวิทยาศาสตร์ Erythrophlejum succirubrum Gagnep , Erythrophleum teysmannii Kurz

ลักษณะนิสัย ผลัดใบหมดทั้งต้น แล้วแตกใบ ออกดอก เดือน พ.ย. – ม.ค. ติดผลเดือน ก.พ. – มี.ค.

ลักษณะพิเศษของพืช ไม้เนื้อแข็ง ทำเครื่องเรือน ทำฟืน เผาถ่าน ถ่าน เป็นยาแก้โรคเด็ก แก้อาการซึม แก้พิษไข้ และถ่านให้ไฟแรงดี

บริเวณที่พบ ป่าผลัดใบ ป่าดิบแล้งภาคอีสานของไทย


ต้นกันเกรา

กันเกรา (ชื่อวิทยาศาสตร์Fagraea fragrans) เป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ ขึ้นโดยทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย ในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายนจะออกดอกเป็น ช่อสีเหลือง มีกลิ่นหอมขจรขจาย ต้นกันเกรามีชื่อเรียกอื่นว่า มันปลา ตำเสา มะซูไม้ต้น
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
กันเกรามีชื่อเรียกต่างกันไปคือ ภาคกลางเรียก กันเกรา ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียก มันปลาส่วนภาคใต้เรียก ตำแสง หรือตำเสา ซึ่งถือเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่ง อันมีชื่อเป็นมงคลและมีคุณสมบัติที่ดีในการใช้ประโยชน์ คือชื่อกันเกราหมายถึง กันสิ่งชั่วร้ายทั้งหลายไม่ให้มาทำอันตรายใด ๆ ชื่อตำเสาคือ เป็นมงคลแก่เสาบ้านไม่ให้ปลวก มอด แมลงต่าง ๆ เจาะกิน ชื่อมันปลา น่าจะเป็นลักษณะของดอกที่เหมือนกับไขมันของปลาเมื่อลอยน้ำไขมันของปลาในถ้วยน้ำแกง โดยเฉพาะช่วงข้าวใหม่ปลามันที่ปลาจะมีความมันและเอร็ดอร่อยเป็นที่สุด
ต้นกันเกรามีลักษณะต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15 - 25 เมตร เปลือกสีน้ำตาลเข้ม แตกเป็นร่องลึกไม่เป็นระเบียบ ใบเดี่ยวออกตรงกันข้าม แผ่นใบรูปมนขนาดกว้าง 2.5 - 3.5 เซนติเมตร ยาว 8 - 11 เซนติเมตร ปลายใบแหลมหรือยาวเรียว ฐานใบแหลม โคนมน ใบเขียวมันวาว มีทรงพุ่งเป็นทรงฉัตรแหลมสวยงาม ดอก เริ่มบานสีขาว แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง กลิ่นหอม ผลกลมเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 มม. สีส้มแล้วเปลี่ยนไปเป็นสีแดงเลือดนกเมื่อแก่เต็มที่ มีเมล็ดขนาดเล็กเป็น จำนวนมากนิเวศวิทยา ขึ้นทั่วไปในป่าเบญจพรรณชื้น และตามที่ต่ำ ที่ชื้นแฉะใกล้น้ำ ทั่วทุกภาคของประเทศไทยออกดอก เมษายน - มิถุนายน เป็นผล มิถุนายน - กรกฎาคมขยายพันธุ์ โดยเมล็ด
ประโยชน์ได้แก่ เนื้อไม้สีเหลืองอ่อน เสี้ยนตรง เนื้อละเอียด เหนียว แข็ง ทนทาน ใช้ในการก่อสร้าง นิยมใช้ทำเสาเรือน แก่นมีรสฝาดใช้เข้ายาบำรุงธาตุ แน่นหน้าอก เปลือกใช้บำรุงโลหิต ผิวหนังพุพอง ปลูกเป็นไม้ประดับลักษณะลำต้นที่สวยงามทั้งลวดลายของเปลือกและเนื้อไม้ เหมาะแก่การนำไปใช้ประโยชน์ทำเครื่องเรือนและเครื่องใช้ต่าง ๆ มีน้ำมันหอมระเหยที่เปลือก
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ต้นกันเกรา
กันเกรามีความสวยงามและกลิ่นหอมไม่เหมือนใคร ทั้งยังเป็นไม้มงคล 1 ใน 9 ชนิด เช่นเดียวกับราชพฤกษ์ ขนุน ชัยพฤกษ์ ทองหลาง ไผ่สีสุก ทรงบาดาล สัก และพะยูง ที่คนนิยมนำมาใช้ในพิธีกรรมเมื่อเวลาก่อสร้างบ้านเรือนให้เป็นสิริมงคล นอกจากนั่นคนอีสานยังนำมาบูชาพระโดยเฉพาะเมื่อเวลางานบุญบวชนาคช่วงเดือนพฤษภาคมหรือเดือน 6 ของทุกปี ก่อนที่จะถึงวันบวชนาคผู้ที่จะบวชนาคต้องมีการเตรียมตัวเตรียมใจอย่างดี เรียกว่า การเข้านาค ผู้ที่จะบวชนาคซึ่งต้องมาเข้านาคนั้นจะต้องแต่งกายชุดสุภาพ มีผ้าแพรหรือผ้าขาวม้าพับอย่างงามพาดบ่า รวมทั้งละเว้นอบายมุขต่างๆ พิธีกรรมหนึ่งของการเข้านาคจะมีการแห่ดอกไม้ก็คือดอกมันปลาหรือดอกกันเกรา จุดเริ่มต้นของขบวนอยู่ที่วัดจากนั้นก็เคลื่อนขบวนแห่ไปตามถนน บ้านเรือนท้องไร่ ท้องนา เพื่อไปเก็บดอกมันปลามาบูชาพระ พร้อมที่จะเข้าพิธีอุปสมบท ในระหว่างการแห่ก็จะมีการตีกลองร้องเพลงไปโดยตลอด เวลาเริ่มแห่ก็ช่วงบ่ายๆพอขบวนจะกลับถึงวัดก็ใกล้ค่ำ พิธีกรรมต่อไปคือนำช่อของดอกมันปลาที่เก็บมาในขบวนแห่จุ่มน้ำแล้วสะบัดให้น้ำจากดอกมันปลาไปสรงพระพุทธรูปบูชาขอพรเป็นอันเสร็จพิธี ผู้ที่ร่วมพิธีกรรมตั้งแต่การแห่จนแล้วเสร็จพิธีจะมีพระ 1 รูป สามเณร คนที่จะอุปสมบท หญิงสาวที่อาจจะเป็นที่รักหรือเพื่อนๆของผู้ที่จะอุปสมบท รวมทั้งเด็กๆด้วย พิธีกรรมนี้จะทำจนกว่าจะถึงวันอุปสมบท เมื่อถึงวันอุปสมบทก็มีพิธีกรรมตามประเพณีซึ่งไม่ขอกล่าวในที่นี้
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ต้นกันเกรา

ต้นมะยม

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ต้นมะยม

มะยม (ชื่อวิทยาศาสตร์Phyllanthus acidus) ภาคอีสานเรียกว่า หมากยม ภาคใต้เรียกว่า ยม เป็นไม้ยืนต้น ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงประมาณ 3 – 10 เมตร ลำต้นตั้งตรง เปลือกต้นขรุขระสีเทาปนน้ำตาล แตกกิ่งที่ปลายยอด กิ่งก้านจะเปราะและแตกง่าย ใบประกอบ มีใบย่อยออกเรียงแบบสลับกันเป็น 2 แถว แต่ละก้านมีใบย่อย 20 – 30 คู่ ใบรูปขอบขนานกลมหรือค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนปลายใบแหลม ฐานใบกลมหรือมน ขอบใบเรียบ ดอก ออกเป็นช่อตามกิ่ง ดอกย่อยสีเหลืองอมน้ำตาลเรื่อๆ ติดผลเป็นพวง ผลมีสามพูชัดเจน เมื่ออ่อนสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือขาวแกมเหลือง เนื้อฉ่ำน้ำ เมล็ดรูปร่างกลม แข็ง สีน้ำตาลอ่อน 1 เมล็ด มีทั้งพันธุ์เปรี้ยวและพันธุ์หวาน ซึ่งมีรสหวานอมฝาด ผลจะอ่อนนุ่มเมื่อสุก จึงเก็บเกี่ยวก่อนผลจะหล่นจากต้น ถิ่นกำเนิดอยู่ที่เอเชียใต้และอเมริกันเขตร้อน

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ต้นมะยม

ชื่อวิทยาศาสตร์  :Phyllanthus acidus Skeels


ชื่อวงศ์                :EUPHORBIACEAE

ชื่อสามัญ            :Star Gooseberry

ชื่อท้องถิ่น

  • ทั่วไป เรียก มะยม
  • ภาคอีสาน เรียก หมักยม, หมากยม
  • ภาคใต้ เรียก ยม

    สรรพคุณทางยา

    • ราก รสจืด สรรพคุณแก้โรคผิวหนัง แก้ผดผื่นคัน ช่วยซับน้ำเหลืองให้แห้ง แก้ประดง ดับพิษเสมหะ
    • เปลือกต้น รสจืด สรรพคุณแก้ไข้ทับระดู ระดูทับไข้ และแก้เม็ดผดผื่นคัน
    • ใบ รสจืดมัน ปรุงเป็นส่วนประของยาเขียว สรรพคุณแก้ไข้ ดับพิษไข้ บำรุงประสาท ต้มร่วมกับใบหมากผู้หมากเมียและใบมะเฟืองอาบแก้คัน ไข้หัด เหือด และสุกใส
    • ดอก ดอกสดใช้ต้มกรองเอาน้ำแก้โรคในตา ชำระล้างในตา
    • ผล รสเปรี้ยวสุขุม กัดเสมหะ แก้ไอ บำรุงโลหิต และระบายท้อง

ต้นยางนา

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ต้นยางนา



ยางนา เป็นไม้ยืนต้นเขตร้อน สูงถึง 40-50 เมตร ในพบในประเทศไทย, กัมพูชา, ลาว และเวียดนาม นอกจากนี้ ยังมีชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ อีก คือ กาตีล ขะยาง จ้อง จะเตียล ชันนา ทองหลัก ยาง ยางกุง ยางขาว ยางควาย ยางตัง ยางเนิน ยางแม่น้ำ ยางหยวก ราลอย และ ลอยด์

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ต้นยางนา

ชั้นสปีชีส์

ประโยชน์ของยางนา

  • น้ำมันยางจากต้นสามารถนำมาใช้โดยตรงเพื่อใช้ผสมชันไม้อื่น ๆ ใช้ยาเครื่องจักสานกันน้ำรั่ว ยาแนวเรือเพื่ออุดรอยรั่ว ทาไม้ ใช้ผสมขี้เลื่อยจุดไฟ หรือใช้ทำไต้จุดไฟส่องสว่าง (ของใช้สำหรับจุดไฟให้สว่าง หรือทำเป็นเชื้อเพลิง ทำด้วยไม้ผุหรือเปลือกเสม็ดคลุกกับน้ำมันยาง แล้วนำมาห่อด้วยใบไม้เป็นดุ้นยาว ๆ หรือใส่กระบอก)[1]ใช้เดินเครื่องยนต์แทนน้ำมันขี้โล้[2 ใช้ทำน้ำมันชักเงา ฯลฯ หรือนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เช่น สีทาบ้าน หมึกพิมพ์

ต้นตาล




ต้นตาล
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ต้นตาล


         ตาล หรือ ตาลโตนด หรือ โหนด ในภาษาใต้ เป็นพันธุ์ไม้พวกปาล์มขนาดใหญ่ สกุล Borassus ในวงศ์ปาล์ม (Arecaceae) เป็นปาล์มที่แข็งแรงมากชนิดหนึ่ง และเป็นปาล์มที่แยกเพศกันอยู่คนละต้น ต้นสูงถึง 40 เมตร และโตวัดผ่ากลางประมาณ 60 เซนติเมตร ลำต้นเป็นเสี้ยนสีดำแข็งมาก แต่ไส้กลางลำต้นอ่อน บริเวณโคนต้นจะมีรากเป็นกลุ่มใหญ่ ใบเหมือนพัดขนาดใหญ่ กว้าง 1 – 1.5 เมตร มีก้านเป็นทางยาว 1 – 2 เมตร ขอบของทางของก้านทั้งสองข้าง มีหนามเหมือนฟันเลื่อยสีดำแข็ง ๆ และคมมาก โคนก้านแยกออกจากกันคล้ายคีมเหล็กโอบหุ้มลำต้นไว้ ช่อดอกเพศผู้ใหญ่ รวมกันเป็นกลุ่มคล้ายนิ้วมือ เรียกว่านิ้วตาลแต่ละนิ้วยาวประมาณ 40 เซนติเมตร และโตวัดผ่า กลางประมาณ 1.5 – 2 เซนติเมตร โคนกลุ่มช่อจะมีก้าน ช่อรวมและมีกาบแข็ง ๆ หลายกาบหุ้มโคนก้านช่ออีกทีหนึ่ง ช่อดอกเพศเมียก็คล้าย ๆ กัน แต่นิ้วจะเป็นปุ่มปม ปุ่มปมคือดอกที่ติดนิ้วตาล ดอกหนึ่ง ๆ โตวัดผ่ากลางประมาณ 2 เซนติเมตร และมีกาบแข็ง ๆ หุ้ม แต่ละดอก กาบนี้จะเติบโตไปเป็นหัวจุกลูกตาลอีกทีหนึ่ง ผลกลมหรือรูปทรงกระบอกสั้น ๆ โตวัดผ่ากลางประมาณ 15 เซนติเมตร ผลเป็นเส้นใยแข็งเป็นมัน มักมีสีเหลืองแกมดำคล้ำเป็นมันหุ้มห่อเนื้อเยื่อสีเหลืองไว้ภายใน ผลหนึ่ง ๆ จะมีเมล็ดใหญ่แข็ง 1 – 3 เมล็ด


ตาล

       ตาล ชื่อสามัญ Asian palmyra palm, Palmyra palm, Brab palm, Doub palm, Fan palm, Lontar palm, Toddy palm, Tala palm, Wine palm
      ตาล ชื่อวิทยาศาสตร์ Borassus flabellifer L. จัดอยู่ในวงศ์ปาล์ม (ARECACEAE) ซึ่งแต่เดิมใช้ชื่อวงศ์ว่า PALMAE หรือ PALMACEAE

ตาลโตนด

ประโยชน์ของตาล

  1. ประโยชน์ของต้นตาล เนื่องจากต้นตาลมีทรงพุ่มที่สวยงาม จึงนิยมใช้ปลูกไว้กลางแจ้งเป็นกลุ่มหรือเป็นแถว หรือปลูกไว้เดี่ยว ๆ ตามชายทะเลหรือริมถนนหนทาง
  2. ลำต้นของต้นตาลสามารถนำมาใช้ทำไม้กระดานหรือใช้ทำเสา สร้างบ้าน ซึ่งมีคุณสมบัติทนแดดทนฝนและการเสียดสีได้ดี นอกจากนี้ยังสามารถนำมาใช้ทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้และเฟอร์นิเจอร์สำหรับเครื่องตกแต่งบ้าน เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ไม้เท้า ด้ามร่ม สาก กรอบรูป เชิงเทียน แก้วน้ำ ฯลฯ หรือใช้ในงานฝีมือที่มีราคาสูง ใช้ทำเรือขุด (เรืออีโปง) หรือจะนำลำต้นมาตัดขุดไส้กลางออกทำเป็นท่อระบายน้ำสำหรับพื้นที่ทางการเกษตร สะพาน กลอง เสา เป็นต้น
  3. ประโยชน์ของเปลือกตาล หรือส่วนที่เป็น “กะลา” นิยมนำไปใช้ทำเป็นเชื้อเพลิง เมื่อนำไปเข้าเตาเผาแล้วจะได้ถ่านสีดำที่มีคาร์บอนสูงเป็นพิเศษ และกำลังเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน หรือจะนำมาใช้เป็นกล่องหรือตลับสำหรับเก็บสิ่งของเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างเช่น เข็ม กระดุม เส้นยาสูบ ฯลฯ
  4. ประโยชน์ของใบตาล ใบอ่อนนำมาใช้ในการจักสาน งานฝีมือ หรือทำเป็นของใช้และของเล่นสำหรับเด็ก โดยสานเป็นรูปสัตว์ชนิดต่าง ๆ ส่วนใบแก่นำไปใช้ทำหลังคากันแดดกันฝน มุงหลังคา ทำเสื่อ สานตะกร้อ ตะกร้า สานกระเป๋า ทำหมวก ทำลิ้นปี่ ทำแว่นสำหรับทำน้ำตาลแว่น ทำเชื้อเพลิง ฯลฯ หากตัดใบตาลเป็นท่อนสั้น ๆ ก็สามารถนำมาใช้แทนช้อนเพื่อตักขนมหรืออาหารได้ชั่วคราว และในประเทศอินเดียสมัยโบราณมีการนำมาใช้เพื่อจารึกตัวอักษรลงบนใบแทนการใช้กระดาษ หรือใช้ทำตาลปัตร (พัดยศ) ของพระสงฆ์ในอดีต
  5. ประโยชน์ของทางตาล หรือส่วนของก้านใบตาล สามารถลอกผิวภายนอกส่วนที่อยู่ด้านบนที่เรียกว่า “หน้าตาล” มาฟั่นทำเป็นเชือกสำหรับผูกหรือล่ามวัว และมีความเหนียวที่ดีมากแม้จะไม่ทนทานเท่าเชือกที่ทำจากต้นปอหรือต้นเส็งก็ตาม จึงเหมาะสำหรับการใช้งานที่ต้องมีการตากแดดตากฝน ส่วนทางตาลตอนโคน ที่อยู่ติดกับต้นตาลนั้นจะมีอยู่ 2 แฉก มีลักษณะบางและแบน หรือที่เรียกว่า “ขาตาล” สามารถนำมาตัดใช้เป็นคราดหรือไม้กวาด เพื่อใช้กอบสิ่งของที่เป็นกอง อย่างเช่น มูลวัว ขี้เถ้า เมล็ดข้าว เป็นต้น แต่หากต่อด้ามหรือทำเป็นกาบจะเรียกว่า “กาบตาล”[7],[10] นอกจากนี้ทางตาลยังสามารถนำมาใช้ทำเป็นคอกสัตว์ รั้วบ้าน ใช้ทำเป็นเชื้อเพลิง หรือใช้ในงานหัตถกรรมจักสานหรืองานฝีมือ เช่น การทำเป็นกระเป๋า หมวก ฯลฯ