มะม่วง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Mangifera Indica) เป็นไม้ยืนต้นในสกุล Mangifera ซึ่งเป็นไม้ผลเมืองร้อนในวงศ์ Anacardiaceae (กลุ่มเดียวกับถั่วพิสตาชีโอและมะม่วงหิมพานต์) ชื่อวิทยาศาสตร์: Mangifera indica เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย เพราะการที่ภูมิภาคนั้นมีความหลากหลายทางพันธุกรรมและร่องรอยฟอสซิลที่หลากหลาย นับย้อนไปได้ถึง 25-30 ล้านปีก่อน มะม่วงมีความแตกต่างประมาณ 49 สายพันธุ์กระจายอยู่ตามประเทศในเขตร้อนตั้งแต่อินเดียไปจนถึงฟิลิปปินส์ จากนั้นจึงแพร่หลายไปทั่วโลก เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ใบโต ยาว ปลายแหลม ขอบใบเรียบ ใบอ่อนสีแดง ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ดอกขนาดเล็ก สีขาว ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเหลือง เมล็ดแบน เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง
มะม่วงเป็นผลไม้เศรษฐกิจ ปลูกเป็นพืชสวน ประเทศไทยส่งออกมะม่วงเป็นอันดับ 3 รองจากฟิลิปปินส์ และเม็กซิโก เป็นผลไม้ประจำชาติของอินเดีย ปากีสถาน และฟิลิปปินส์ รวมทั้งบังกลาเทศ
สรนรพคุณของมะม่วง
- รับประทานมะม่วงก็ช่วยทำให้สดชื่นมีชีวิตชีวาได้เหมือนกัน
- มะม่วงมีวิตามินซีสูง จึงช่วยต้านอนุมูลอิสระได้เป็นอย่างดี
- มะม่วงมีวิตามินเอ วิตามินซี ซึ่งมีส่วนช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส
- ช่วยบำรุงและรักษาสายตา เพราะอุดมไปด้วยวิตามินเอและเบตาแคโรทีน
- เป็นผลไม้ที่มีส่วนช่วยบำรุงร่างกาย
- ช่วยทำให้ผ่อนคลายและหลับสบายยิ่งขึ้น
- ช่วยทำให้ร่างกายทำงานเป็นปกติ ปรับสมดุลภายใน
- ผลมะม่วงดิบมีวิตามินซีสูง จึงช่วยป้องกันและรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน
- ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคมะเร็งต่าง ๆ
- มีส่วนช่วยต่อต้านการเกิดโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งลำไส้ รวมไปถึงต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด มะเร็งเม็ดเลือด โรคมะเร็งผิวหนัง เป็นต้น
- ช่วยเยียวยาและรักษาโรคเบาหวาน ด้วยการใช้ใบมะม่วงประมาณ 15 ใบ นำมาล้างให้สะอาด แล้วนำมาต้มในน้ำสะอาด 1 ถ้วย โดยใช้ไฟอ่อน ๆ นาน 1 ชั่วโมง ถ้าน้ำแห้งก็เติมเรื่อย ๆ เมื่อเสร็จแล้วนำมาตั้งทิ้งค้างคืนไว้ 1 คืน พอเช้าก็นำมากรองเอาแต่น้ำดื่มติดต่อกันประมาณ 3-4 วัน
- ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน ด้วยการรับประทานผลสดแก่
- ช่วยแก้อาการกระหายน้ำ ด้วยการรับประทานผลสดแก่
- ช่วยแก้อาการร้อนใน ด้วยการรับประทานผลมะม่วง
- ช่วยแก้โรคคอตีบ ด้วยการใช้เปลือกของลำต้นมะม่วงมาต้มรับประทานแก้ซางตานขโมยในเด็ก ด้วยการใช้ใบมะม่วงพอประมาณนำมาต้มรับประทาน
- ช่วยรักษาอาการเยื่อปากอักเสบ จมูกอักเสบ ด้วยการใช้เปลือกของลำต้นมะม่วงมาต้มรับประทาน
- เปลือกมะม่วงของผลดิบ นำมาคั่วรับประทานร่วมกับน้ำตาล ช่วยแก้อาการปวดประจำเดือนและอาการปวดเมื่อยช่วงมีประจำเดือน
- เปลือกต้นมะม่วง นำมาต้มเอาน้ำดื่ม ช่วยแก้ไข้ตัวร้อน
- ไฟเบอร์จากมะม่วงเป็นตัวช่วยสำหรับการย่อยอาหารและเผาผลาญพลังงาน
- แก้อาการท้องอืด ด้วยการนำใบสดประมาณ 15 กรัมมาต้มกับน้ำดื่ม หรือใช้เมล็ดของมะม่วงสุกมาตากแห้งแล้วต้มเอาน้ำดื่ม หรือจะบดให้เป็นผงก็ได้แล้วนำมารับประทาน
- ช่วยแก้อาการบิด ถ่ายเป็นเลือด ด้วยการรับประทานผลมะม่วง
- ช่วยบำรุงกระเพาะอาหาร ด้วยการรับประทานผลมะม่วง
- แก้อาการลำไส้อักเสบเรื้อรัง ด้วยการนำใบสดประมาณ 15 กรัมมาต้มกับน้ำดื่ม
- มีส่วนช่วยในการขับถ่าย มีฤทธิ์เป็นยาระบาย ด้วยการรับประทานมะม่วงสุก
- ช่วยขับปัสสาวะ ด้วยการรับประทานผลมะม่วง
- ช่วยขับพยาธิ ด้วยการใช้เมล็ดของมะม่วงสุกมาตากแห้งแล้วต้มเอาน้ำดื่ม หรือจะบดให้เป็นผงก็ได้แล้วนำมารับประทาน
- น้ำต้มกับใบมะม่วงสดประมาณ 15 กรัม ใช้ล้างบาดแผลภายนอกได้
- ใช้เป็นยาสมานแผลสด ด้วยการใช้ใบมะม่วงสดล้างให้สะอาดแล้วนำมาตำและพอกบริเวณที่เป็นแผล
ประโยชน์ของมะม่วง
- เนื้อไม้ของต้นมะม่วง สามารถนำมาใช้ทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ได้
- ใช้ประกอบอาหารหรือใช้รับประทานเป็นของว่างได้หลากหลาย เช่น ทำน้ำพริก ยำมะม่วง ต้มยำ เมี่ยงส้ม หรือการทำเป็นมะม่วงน้ำปลาหวาน คั้นเป็นน้ำผลไม้ก็ได้เช่นกัน
- นำมาแปรรูปเป็นมะม่วงกวน มะม่วงแก้ว มะม่วงดอง มะม่วงแช่อิ่ม มะม่วงเค็ม น้ำแยมมะม่วง พายมะม่วง เป็นต้น
- ใบแก่ของมะม่วงใช้เป็นสีย้อมผ้าให้เป็นสีเหลือง
- ทรีตเมนต์บำรุงผิวหน้าด้วยการใช้มะม่วงสุกมาฝานเป็นชิ้นบาง ๆ จากนั้นใช้ช้อนบดขยี้เนื้อมะม่วงให้ละเอียด แล้วนำมาพอกหน้าทิ้งไว้ประมาณ 15 นาทีแล้วล้างออก จะทำให้ผิวหน้าดูสะอาดเกลี้ยงเกลา รูขุมขนดูกระชับ ผิวเรียบเนียนไร้รอยเหี่ยวย่น
คุณค่าทางโภชนาการของมะม่วงดิบต่อ 100 กรัม
- พลังงาน 60 กิโลแคลอรี
- คาร์โบไฮเดรต 15 กรัม
- น้ำตาล 13.7 กรัม
- เส้นใย 1.6 กรัม
- ไขมัน 0.38 กรัม
- โปรตีน 0.82 กรัม
- วิตามินเอ 54 ไมโครกรัม 6%
- เบตาแคโรทีน 640 ไมโครกรัม 6%
- วิตามินบี 1 0.03 มิลลิกรัม 2%
- วิตามินบี 2 0.04 มิลลิกรัม 3%
- วิตามินบี 3 0.67 มิลลิกรัม 4%
- วิตามินบี 6 0.12 มิลลิกรัม 9%
- วิตามินบี 9 43 ไมโครกรัม 11%
- วิตามินซี 36 มิลลิกรัม 60%
- ธาตุแคลเซียม 11 มิลลิกรัม 1%
- ธาตุเหล็ก 0.16 มิลลิกรัม 1%
- ธาตุแมกนีเซียม 10 มิลลิกรัม 3%
- ธาตุฟอสฟอรัส 14 มิลลิกรัม 2%
- ธาตุโพแทสเซียม 168 มิลลิกรัม 4%
- ธาตุสังกะสี 0.09 มิลลิกรัม 1%
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น