ติ้วขาว
ติ้วขาว ชื่อวิทยาศาสตร์ Cratoxylum formosum (Jacq.) Benth. & Hook.f. ex Dyer (Cratoxylum formosum subsp. formosum) ปัจจุบันจัดอยู่ในวงศ์ติ้ว (HYPERICACEAE)
สมุนไพรติ้วขาว มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า แต้วหิน (ลำปาง), ผักเตา เตา (เลย), ติ้วส้ม (นครราชสีมา), กวยโชง (กาญจนบุรี), ตาว (สตูล), ติ้วแดง ติ้วยาง ติ้วเลือด ติ้วเหลือง (ภาคเหนือ), ติ้วเหลือง (ภาคกลาง), แต้ว (ภาคใต้), ผักติ้ว เป็นต้น
สรรพคุณของติ้วขาว
- ช่วยบำรุงโลหิต ฟอกโลหิต (ยอด, ใบอ่อน, ดอก, เถา)
- เปลือกต้นนำมาต้มกับน้ำกินแก้ธาตุพิการ (เปลือกต้น)
- ช่วยแก้ประดง (ยอด, ใบอ่อน, ดอก, เถา)
- ผักติ้วเป็นผักที่มีวิตามินเอสูง จึงมีสรรพคุณช่วยป้องกันไม่ให้เด็กเป็นตาบอดกลางคืน และโรคตาไก่
- ช่วยขับลม (ยอด, ใบอ่อน, ดอก, เถา)
- รากและใบ ใช้ต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้อาการปวดท้อง (รากและใบ)
- ใช้รากผสมกับรากปลาไหลและหัวแห้วหมู นำมาต้มกับน้ำดื่มวันละ 3 ครั้งเป็นยาขับปัสสาวะ แก้อาการปัสสาวะขัด (ราก)
ประโยชน์ของติ้วขาว
- ยอดอ่อน ใบอ่อน และดอกอ่อนของติ้วขาวหรือผักติ้วใช้รับประทานเป็นผักสดร่วมกับลาบ ก้อย น้ำตก แจ่ว ซุปหน่อไม้ น้ำพริก น้ำพริกปลาร้า ขนมจีน หมี่กะทิ เมี่ยงญวน แหนมเนืองเวียดนาม หรือจะนำไปประกอบอาหาร เช่น ใส่ต้มหรือแกงต่าง ๆ เพื่อใช้ปรุงรสเปรี้ยวแทนการใช้มะนาว เช่น แกงเห็ด แกงปลา
- ดอกอ่อน ใช้ทำซุปหรือยำได้ แต่จะนิยมใช้ติ้วขาวมากกว่าติ้วขน เพราะติ้วขาวมีรสชาติขมและฝาดน้อยกว่าติ้วขน
- สารสกัดด้วยน้ำของติ้วขนมีฤทธิ์ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้กับปลานิล โดยปลานิลที่เลี้ยงด้วยอาหารที่ผสมด้วยสารสกัดติ้วขน (อัตราส่วน 1.5% (w/w)) จะมีภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะ (Nonspecific immune response) สูงขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น