ต้นกระโดน
กระโดน ชื่อสามัญ Tummy-wood, Patana oak
กระโดน ชื่อวิทยาศาสตร์ Careya arborea Roxb. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Careya sphaerica Roxb. ) จัดอยู่ในวงศ์จิก (LECYTHIDACEAE หรือ BARRINGTONIACEAE)
สมุนไพรกระโดน มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า หูกวาง (จันทบุรี), ขุย (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), แซงจิแหน่ เส่เจ๊ออะบะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), พุย (ละว้า-เชียงใหม่), ปุยขาว ผักฮาด ผ้าฮาด (ภาคเหนือ), กระโดนโคก กระโดนบกปุย (ภาคเหนือ, ภาคใต้), ต้นจิก (ภาคกลาง), ปุยกระโดน (ภาคใต้), เก๊าปุย (คนเมือง), ละหมุด (ขมุ), กะนอน (เขมร), กระโดนโป้ เป็นต้น
ลักษณะของกระโดน
สรรพคุณของกระโดน
- ดอกมีรสสุขุม ช่วยบำรุงร่างกาย (ดอก)
- ดอกใช้เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงร่างกายหลังการคลอดบุตรของสตรี (ดอก)
- ผลมีรสจืดเย็น ช่วยบำรุงหลังการคลอดบุตรของสตรี ส่วนดอกและน้ำจากเปลือกสด หากนำมาผสมกับน้ำผึ้งก็เป็นยาบำรุงหลังคลอดได้เช่นกัน (ผล, ดอก, น้ำจากเปลือกสด)
- ดอกช่วยแก้อาการหวัด หรือจะใช้ดอกและน้ำจากเปลือกสดผสมกับน้ำผึ้งกินเป็นยาแก้หวัดก็ได้ (ดอก)
- ดอกช่วยแก้อาการไอ ช่วยทำให้ชุ่มคอ หรือจะใช้ดอกและน้ำจากเปลือกสดผสมกับน้ำผึ้งกินเป็นยาแก้ไอก็ได้ (ดอก)
- ผลมีรสจืดเย็น ช่วยในการย่อยอาหาร (ผล)
- เปลือกต้นนำมาแช่กับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการปวดท้อง ท้องเสีย (เปลือกต้น)
- ช่วยแก้โรคกระเพาะอาหาร (เปลือกต้น)
- เปลือกต้นใช้เป็นยาสมานแผลภายใน (เปลือกต้น)
- กระโดนจัดอยู่ในตำรับยาแก้โรคริดสีดวงทวาร ซึ่งในตำรับยาประกอบไปด้วยกระโดนโคก 1 ส่วน, ต้นกล้วยน้อย 1 ส่วน, ขันทองพยาบาท (ดูกใส) 1 ส่วน, ต้นซองแมว 1 ส่วน, ต้นค้อแลน 1 ส่วน, เงี่ยงดุกน้อย 1 ส่วน, กำแพงเจ็ดชั้น 1 ส่วน, ต้นมอนแก้ว 1 ส่วน, มอยแม่หม้าย 1 ส่วน, เล็บแมวแดง 1 ส่วน, ตากวาง 1 ส่วน โดยนำทั้งหมดมาต้มเป็นยากิน (ตำหรับยานี้พบในบ้านเชียงเหียน ต.เขวา อ.เมือง จ.มหาสารคาม)[7]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น